ประวัติเทศบาลตำบลศรีพนา
ประวัติความเป็นมาเทศบาลตำบลศรีพนา
ประวัติเทศบาลตำบลศรีพนา
เทศบาลตำบลศรีพนา อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ เดิมปกครองในรูปแบบสุขาภิบาล เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พุทธศักราช 2499 พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีนโยบายที่จะยกฐานะท้องถิ่นทุกแหล่งชุมชนที่เป็นที่ตั้งอำเภอ, กิ่งอำเภอ และตำบลที่สำคัญๆ ขึ้นเป็น สุขาภิบาล เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ถึงหลักการปกครองตนเองตามระบอบเสรีประชาธิปไตย จำนวนไม่น้อยกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ ต่อมาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2501 ร.ต.ท.บุศย์ จินตนา ปลัดจังหวัดโท ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายมีหนังสือสั่งการให้กิ่งอำเภอเซกา ได้สำรวจข้อมูลเพื่อขอจัดตั้งสุขาภิบาลตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยโดยด่วน ต่อมามีหนังสือสั่งการเรื่องการจัดตั้งสุขาภิบาลจากจังหวัดหนองคาย ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2504 แต่นายวิกรม ผาสุก นายอำเภอเซกา ยืนยันไม่ขอจัดตั้งเนื่องจากสถานที่ไม่เหมาะสมและรายได้ของประชาชนในเขตน้อยเกินไป จนกระทั่งวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2505 นายวิกรม ผาสุก ได้สำรวจและยืนยันขอจัดตั้งโดยใช้ชื่อว่า “สุขาภิบาลเซกา” มีพื้นที่ 2 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 บางส่วน ในปีพุทธศักราช 2507 ว่าที่ ร.ต. สำเนียง รามดิลก ปลัดอำเภอโทปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอเซกา ได้เปิดประชุมผู้อาวุโสประจำหมู่บ้าน นำโดย นายเหลี่ยม สุกทน กำนันตำบลเซกา , นายศรีทา พารีศรี, นายสนิท สุทธิพงษ์, นายศรี ผาลี, นายบัว จันทร์โคตร, นายคำไหล จันผาย, นายจันทา ฮาดดา เป็นต้น เพื่อติดตามเรื่องการจัดตั้งสุขาภิบาล และนายเหลี่ยม สุกทน ได้เป็นผู้เสนอให้เปลี่ยนชื่อจาก “สุขาภิบาลเซกา” มาเป็น “สุขาภิบาลศรีพนา” เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ นายศรี ผาลี ผู้ที่ดำเนินการขอจัดตั้งกิ่งอำเภอจนสำเร็จ ดังนั้นคำว่า “ ศรี” จึงมาจาก ชื่อ นายศรี แปลว่า ความเจริญรุ่งเรือง ประกอบกับอำเภอเซกาเป็นอำเภอที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ทั้งป่าไม้และสัตว์ป่า จึงใช้คำว่า “พนา” มาประกอบกับคำว่า “ศรี” จึงตกลงใช้ชื่อว่า“สุขาภิบาลศรีพนา” ซึ่งหมายความว่าเป็นสุขาภิบาลที่มีความเจริญรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ”
( จากคำบอกเล่าของ นายบรรเทิง ทองคันทม ราษฎรอาวุโสที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน)
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2508 จึงได้รับการประกาศจากกระทรวงมหาดไทย โดยพลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้จัดตั้งเป็น “สุขาภิบาลศรีพนา “ อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ 2.27 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1,000 คน รายได้ต่อปี 46,000 บาท ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 82 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2508 ต่อมาวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2508 ได้แต่งตั้งว่าที่ ร.ต.สำเนียง รามดิลก เป็นกรรมการและปลัดสุขาภิบาล และต่อมาวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 เลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลจำนวน 4 คน ได้แก่ นายศรี ผาลี , นายคำไหล จันผาย , นายวารี ฮาดดา และนายจันทา ฮาดดา ในปี พ.ศ. 2536 มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2536 โดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลศรีพนา อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย ตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2508 เสียใหม่ จึงทำให้มีพื้นที่ เพิ่มขึ้นเป็น 6.10 ตารางกิโลเมตร จนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลศรีพนาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 มีพื้นที่ปกครอง จำนวน 6.10 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 7 หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้น 7,032 คน (31 พฤษภาคม 2554 ) มีรายได้ 50,362,610.86.- บาท (รายรับ ณ 30 กันยายน 2553)
( จากคำบอกเล่าของ นายบรรเทิง ทองคันทม ราษฎรอาวุโสที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน)
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2508 จึงได้รับการประกาศจากกระทรวงมหาดไทย โดยพลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้จัดตั้งเป็น “สุขาภิบาลศรีพนา “ อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย มีเนื้อที่ 2.27 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1,000 คน รายได้ต่อปี 46,000 บาท ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 82 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2508 ต่อมาวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2508 ได้แต่งตั้งว่าที่ ร.ต.สำเนียง รามดิลก เป็นกรรมการและปลัดสุขาภิบาล และต่อมาวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 เลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลจำนวน 4 คน ได้แก่ นายศรี ผาลี , นายคำไหล จันผาย , นายวารี ฮาดดา และนายจันทา ฮาดดา ในปี พ.ศ. 2536 มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2536 โดยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลศรีพนา อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย ตามที่ได้กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2508 เสียใหม่ จึงทำให้มีพื้นที่ เพิ่มขึ้นเป็น 6.10 ตารางกิโลเมตร จนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2542 สุขาภิบาลศรีพนาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 มีพื้นที่ปกครอง จำนวน 6.10 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 7 หมู่บ้าน ประชากรทั้งสิ้น 7,032 คน (31 พฤษภาคม 2554 ) มีรายได้ 50,362,610.86.- บาท (รายรับ ณ 30 กันยายน 2553)